รัฐธรรมนูญ ปี 2550 การมีส่วนร่วมของประชาชน PDF พิมพ์ อีเมล

ทุกวันนี้ไม่ว่า โครงการฯ ใด ๆ ที่เป็นโครงการของภาครัฐ หรือเอกชน ที่เป็นโครงการขนาดใหญ่ ก่อนการดำเนินการมักจะต้องจัดให้มีรายการประชุมพบปะกับประชาชน เพื่อหารือ ขอคำแนะนำ ให้ข้อมูล และเปิดการรับฟังความคิดเห็นจากประชาชน ชุมชนในท้องถิ่นนั้น ๆ ก่อนกันแทบทุกโครงการฯ การมีส่วนร่วมของภาคประชาชน เสมือนเป็นกติกาที่สำคัญอย่างหนึ่งไปเสียแล้ว ในการกำหนดให้มีความเป็นไปของโครงการนั้น ๆ ประชาชนมีบทบาทเข้ามา ในการกำหนดต่าง ๆ รับข้อมูล และให้คำปรึกษาหารือ ร่วมวางแผน ร่วมปฏิบัติ ตลอดจนการติดตามตรวจสอบ ดังนั้นไม่ว่าโครงการใด ๆ ถ้าขาดการมีส่วนร่วมของภาคประชาชนแล้วก็จะไม่สามารถดำเนินการได้อย่างแน่ นอน.....

การรับฟังความคิดเห็นของประชาชนตามหลักสากลที่ใช้อยู่ในบรรดาประเทศที่ ปกครองในระบบประชาธิปไตยทั้งหลายนั้นมีสองแนวทาง แนวทางที่หนึ่ง เป็นการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนโดยผ่านผู้แทนราษฎร และแนวทางที่สอง เป็นการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนผู้มีส่วนเกี่ยวข้องหรือมีส่วนได้ส่วน เสียกับการตัดสินใจของรัฐโดยตรง โดยใช้ทั้งสองแนวทางควบคู่กันไป กล่าวคือ นอกจากรับฟังความคิดเห็นของประชาชนโดยผ่านผู้แทนราษฎรตามกลไกรัฐสภาแล้ว รัฐบาลยังจัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนโดยตรงด้วย และมีข้อสังเกตุว่าการจัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นของประชาชน โดยตรงนี้รัฐบาลมิได้รับฟังอย่างเดียว แต่ให้ข้อมูลรายละเอียดเกี่ยวกับเรื่องที่รับฟังแก่ประชาชนด้วย และวิธีการให้ข้อมูลและรับฟังความคิดเห็นของประชาชนนั้นก็มีความหลากหลาย หน่วยงานของรัฐที่จะรับฟังความคิดเห็นของประชาชนสามารถเลือกดำเนินการได้ตาม สถานการณ์ (ข้อมูลจาก www.publicconsultation.opm.go.th)

ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ปี 2550 ได้กำหนดสิทธิการมีส่วนร่วมของประชาชนในเรื่องการรับฟังความคิดเห็นเกี่ยว กับโครงการของภาครัฐ โดยเฉพาะกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศ ไทย ในส่วนที่ 10 หมวดสิทธิในข้อมูลข่าวสารและการร้องเรียน มาตรา 56 และ 57 และในส่วนที่ 12 หมวดสิทธิชุมชน มาตรา 67 มีรายละเอียดดังนี้

อ่านเพิ่มเติม...