รัฐธรรมนูญ ปี 2550 การมีส่วนร่วมของประชาชน PDF พิมพ์ อีเมล

ทุกวันนี้ไม่ว่า โครงการฯ ใด ๆ ที่เป็นโครงการของภาครัฐ หรือเอกชน ที่เป็นโครงการขนาดใหญ่ ก่อนการดำเนินการมักจะต้องจัดให้มีรายการประชุมพบปะกับประชาชน เพื่อหารือ ขอคำแนะนำ ให้ข้อมูล และเปิดการรับฟังความคิดเห็นจากประชาชน ชุมชนในท้องถิ่นนั้น ๆ ก่อนกันแทบทุกโครงการฯ การมีส่วนร่วมของภาคประชาชน เสมือนเป็นกติกาที่สำคัญอย่างหนึ่งไปเสียแล้ว ในการกำหนดให้มีความเป็นไปของโครงการนั้น ๆ ประชาชนมีบทบาทเข้ามา ในการกำหนดต่าง ๆ รับข้อมูล และให้คำปรึกษาหารือ ร่วมวางแผน ร่วมปฏิบัติ ตลอดจนการติดตามตรวจสอบ ดังนั้นไม่ว่าโครงการใด ๆ ถ้าขาดการมีส่วนร่วมของภาคประชาชนแล้วก็จะไม่สามารถดำเนินการได้อย่างแน่ นอน.....

การรับฟังความคิดเห็นของประชาชนตามหลักสากลที่ใช้อยู่ในบรรดาประเทศที่ ปกครองในระบบประชาธิปไตยทั้งหลายนั้นมีสองแนวทาง แนวทางที่หนึ่ง เป็นการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนโดยผ่านผู้แทนราษฎร และแนวทางที่สอง เป็นการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนผู้มีส่วนเกี่ยวข้องหรือมีส่วนได้ส่วน เสียกับการตัดสินใจของรัฐโดยตรง โดยใช้ทั้งสองแนวทางควบคู่กันไป กล่าวคือ นอกจากรับฟังความคิดเห็นของประชาชนโดยผ่านผู้แทนราษฎรตามกลไกรัฐสภาแล้ว รัฐบาลยังจัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนโดยตรงด้วย และมีข้อสังเกตุว่าการจัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นของประชาชน โดยตรงนี้รัฐบาลมิได้รับฟังอย่างเดียว แต่ให้ข้อมูลรายละเอียดเกี่ยวกับเรื่องที่รับฟังแก่ประชาชนด้วย และวิธีการให้ข้อมูลและรับฟังความคิดเห็นของประชาชนนั้นก็มีความหลากหลาย หน่วยงานของรัฐที่จะรับฟังความคิดเห็นของประชาชนสามารถเลือกดำเนินการได้ตาม สถานการณ์ (ข้อมูลจาก www.publicconsultation.opm.go.th)

ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ปี 2550 ได้กำหนดสิทธิการมีส่วนร่วมของประชาชนในเรื่องการรับฟังความคิดเห็นเกี่ยว กับโครงการของภาครัฐ โดยเฉพาะกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศ ไทย ในส่วนที่ 10 หมวดสิทธิในข้อมูลข่าวสารและการร้องเรียน มาตรา 56 และ 57 และในส่วนที่ 12 หมวดสิทธิชุมชน มาตรา 67 มีรายละเอียดดังนี้

 

ส่วนที่ 10 สิทธิในข้อมูลข่าวสารและการร้องเรียน

มาตรา 56 บุคคลย่อมมีสิทธิได้รับทราบและเข้าถึงข้อมูลหรือข่าวสารสาธารณะใน ครอบครองของหน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือราชการส่วนท้องถิ่น เว้นแต่ การเปิดเผยข้อมูลหรือข่าวสารนั้นจะกระทบต่อความมั่นคงของรัฐ ความปลอดภัยของประชาชน หรือส่วนได้เสียอันพึงได้รับความคุ้มครองของบุคคลอื่น หรือเป็นข้อมูลส่วนบุคคล ทั้งนี้ ตามที่กฎหมายบัญญัติ

มาตรา 57 บุคคลย่อมมีสิทธิได้รับข้อมูล คำชี้แจง และเหตุผลจากหน่วยราชการหน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือราชการส่วนท้องถิ่น ก่อนการอนุญาตหรือการดำเนินโครงการหรือกิจกรรมใดที่อาจมีผล กระทบต่อคุณภาพสิ่งแวดล้อม สุขภาพอนามัย คุณภาพชีวิต หรือส่วนได้เสียสำคัญอื่นใดที่เกี่ยวกับตนหรือชุมชนท้องถิ่น และมีสิทธิแสดงความคิดเห็นของตนต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อนำไปประกอบการพิจารณาในเรื่องดังกล่าวการวางแผนพัฒนาสังคม เศรษฐกิจ การเมือง และวัฒนธรรม การเวนคืนอสังหาริมทรัพย์การวางผังเมือง การกำหนดเขตการใช้ประโยชน์ในที่ดิน และการออกกฎที่อาจมีผลกระทบต่อส่วนได้เสียสำคัญของประชาชน ให้รัฐจัดให้มีกระบวนการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนอย่างทั่วถึงก่อนดำเนินการ

ส่วนที่ 12 หมวดสิทธิชุมชน

มาตรา 67 สิทธิของบุคคลที่จะมีส่วนร่วมกับรัฐและชุมชนในการอนุรักษ์ บำรุงรักษาและการได้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติและความหลากหลายทางชีวภาพ และในการคุ้มครองส่งเสริม และรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม เพื่อให้ดำรงชีพอยู่ได้อย่างปกติและต่อเนื่องในสิ่งแวดล้อมที่จะไม่ก่อให้ เกิดอันตรายต่อสุขภาพอนามัย สวัสดิภาพ หรือคุณภาพชีวิตของตน ย่อมได้รับความคุ้มครองตามความเหมาะสมการดำเนินโครงการหรือกิจกรรมที่อาจก่อให้ เกิดผลกระทบต่อชุมชนอย่างรุนแรงทั้งทางด้านคุณภาพสิ่งแวดล้อม ทรัพยากรธรรมชาติ และสุขภาพ จะกระทำมิได้ เว้นแต่จะได้ศึกษาและประเมินผลกระทบต่อคุณภาพสิ่งแวดล้อมและสุขภาพของ ประชาชนในชุมชน และจัดให้มีกระบวนการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนและผู้มีส่วนได้เสียก่อน รวมทั้งได้ให้องค์การอิสระซึ่งประกอบด้วยผู้แทนองค์การเอกชนด้านสิ่งแวดล้อม และสุขภาพ และผู้แทนสถาบันอุดมศึกษาที่จัดการการศึกษาด้านสิ่งแวดล้อมหรือทรัพยากรธรรมชาติหรือด้านสุขภาพ ให้ความเห็นประกอบก่อนมีการดำเนินการดังกล่าวสิทธิของชุมชนที่จะฟ้องหน่วย ราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ ราชการส่วนท้องถิ่นหรือองค์กรอื่นของรัฐที่เป็นนิติบุคคล เพื่อให้ปฏิบัติหน้าที่ตามบทบัญญัตินี้ ย่อมได้รับความคุ้มครอง